โครงการ..พระราชดำริต่างๆ
ของพ่อหลวง

นานมาแล้ว พ่อได้ปลูกต้นไม้ไว้ให้เรา เพื่อวันหนึ่งจะบัง ลมหนาว
และคอยเป็นร่มเงา ปลูกไว้เพื่อพวกเรา ทุกๆคน
พ่อใช้เหงื่อแทนน้ำรดลงไป เพื่อจะผลิดอกใบ ออกผล
ให้เราทุกๆคน เติบโตอย่างร่มเย็น ในบ้านเรา
ผ่านมาแล้วห้าสิบปี ต้นไม้นั้นสูงใหญ่ ลมแรงเท่าไร ก็บรรเทา
ออกผลให้เก็บกิน แตกใบเพื่อให้ร่มเงาคอยดูแลเราให้เรายังมีวัน อยู่ต่อไป จนวันนี้ ใต้เงาแห่งต้นไม้ ต้นใหญ่ ลูกได้อยู่ได้คอย อาศัย
แผ่นดินยังกว้างไกล แต่เหมือนว่าหัวใจ พ่อกว้างกว่า
.ลูกที่เกิดตรงนี้นั้นยังอยู่ และยังอยู่เพื่อคอย รักษา
จะรวมใจเข้ามา จะมีที่สัญญา ในหัวใจ จากวันนี้สักหมื่นปี ต้นไม้ที่พ่อปลูก
ต้นสวยทั้งงดงาม และยิ่งใหญ่ สืบสานและติดตาม จากรอยที่พ่อตั้งใจ
เมื่อเราจะเทไป ให้ต้นไม้ ของพ่อ ยังงดงาม
จากวันนี้สักหมื่นปี ต้นไม้ที่พ่อปลูก ต้นสวยทั้งงดงาม และยิ่งใหญ่
สืบสานและติดตาม จากรอยที่พ่อตั้งใจ เมื่อเราจะเทไปจากหัวใจ
เพื่อเราจะเทไป ให้ต้นไม้ ของพ่อ ยังงดงาม

โครงการพระราชดำริ
" พัฒนาดอยตุง" จังหวัดเชียงราย
เนื่องด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีความสนพระทัยที่จะพัฒนาพื้นที่ดอยตุงจังหวัดเชียงราย ให้เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดและเป็นโครงการทดลองรูปแบบการพัฒนาเบ็ดเสร็จ เพื่อจะขยายผลการช่วยเหลือประชาชน ในพื้นที่ต่าง ๆ เนื่องจากทรงเจริญพระชนมพรรษามาก แล้วการที่จะแปรพระราชฐานไปยังพื้นที่ต่าง ๆคงไม่สามารถทรงงานเช่นเดิมได้จากพระราชประสงค์ดังกล่าว
จึงทรงมีรับสั่งในเรื่องการพัฒนาดอยตุงกับผู้บัญชาการทหารบกและคณะ ในการเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลขอถวายรายงานการจัดงาน ไหว้แม่ฟ้าหลวง เมื่อต้นเดือนมกราคม 2530 เพื่อพิจารณาดำเนินการพัฒนาตามความเหมาะสม คณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุง จ.เชียงราย ได้แต่งตั้งคณะ ทำงานดำเนินงานในพื้นที่ทรงงานโครงการพัฒนาดอยตุงตามคำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในที่55/2531 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2531 ให้มีหน้าที่พิจารณากำหนดพื้นที่ที่ทรงงานและวางแผนให้เหมาสมการดำเนินงานในพื้นที่ทรงงานได้เริ่มในปลายปีงบประมาณ 2531 เป็นต้นมา ต่อมาคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้เข้ามาสนับสนุนโครงการเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมนี้ได้มอบให้กรมป่าไม้เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารโครงการฯ คณะทำงานฯ ได้จัดทำแผนงานโครงการมี คณะกรรมการ กปร. ให้การสนับสนุนงประมาณ 3 ปี คือตั้งแต่ปี 2532-2534

โครงการพระราชดำริ "หญ้าแฝก"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงการพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ศึกษา“ หญ้าแฝก”และนำมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำรวมทั้งใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา จากการศึกษาวิจัยหญ้าแฝกมีความก้าวหน้าเป็นอย่างดี ทำให้ประเทศไทยได้รับเกียรติจัดสัมมนาหญ้าแฝกระดับนานาชาติ(InternationalConference on Vetiver) เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2539 เพื่อให้นักวิชาการมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝกและเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี ต่อมาอีก 4 ปี ประเทศไทยได้รับเกียรติจัดสัมมนานานาชาติในหัวข้อ“หญ้าแฝกกับสิ่งแวดล้อม”(Vetiver and The Environment) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18-19 มกราคม 2543 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ 72 พรรษา สำหรับการประชุมครั้งที่ 3 จะมีขึ้นที่เมืองกวางเจา มลรัฐกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 18-22 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ในปัจจุบันได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 30 หน่วยงาน ร่วมดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหญ้าแฝก

โครงการพระราชดำริ " ธนาคารข้าว "
เนื่องด้วยลักษณะภุมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและเป็นท้องถิ่นทุรกันดารราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการจำกัดประกอบกับบ่อยครั้งที่ต้องประสบภัยทางธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายอยู่เสมอ อันเป็นผลให้ราษฎร ต้องขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภคในบางปีเหตุการณ์เหล่านี้พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงรับทราบและทรงมีความห่วงใยพสกนิกรผู้ประสบภัยทางธรรมชาติเป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริในชั้นต้น เพื่อหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรเหล่านั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดย การจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวขึ้นในหมู่บ้านที่ประสบภัยดังกล่าวขึ้น 



โครงการพระราชดำริ
"กังหันน้ำชัยพัฒนา"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำในแหล่งน้ำเสียอุปกรณ์ในเครื่องกังหันน้ำชัยพัฒนา
• โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม
• ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง ที่ซองมีรูพรุนให้น้ำกระจายเป็นฝอยได้เริ่มต้นด้วยซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ทำให้ซองน้ำวิดตักน้ำ ด้วยความเร็วสามารถยกน้ำสาดขึ้นไปกระจ่ายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำ ทำให้เกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำใต้ผิวน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้ดีมากขึ้น การประดิษฐ์วิจัยเพื่อประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศในขณะนี้มี 9 รูปแบบ คือ



โครงการพระราชดำริ   " แก้มลิง "

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พระองค์ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาด้านน้ำท่วมนี้ โดยวิธีการที่ตรัสว่า“แก้มลิง”ซึ่งได้พระราชทานอรรถาธิบายว่า“...ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยว แล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยเข้าไปไว้ในกระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง...”ซึ่งหมายความว่าเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองเพื่อนำน้ำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำ ก็เปรียบเหมือนแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเล เมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง



โครงการพระราชดำริ "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ "
แม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญของชาวจังหวัดลพบุรีและสระบุรีไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรมและการประมงแต่ในเดือนสิงหาคม–เดือตุลาคมของทุกปีจะเกิดน้ำท่วมในจังหวัดลพบุรีและรวมถึงจังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยากรุงเทพมหานครและปริมณฑลสำหรับช่วงเดือนมกราคม–เดือนพฤษภาคม ก็จะเกิดภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำใช้เพื่ออุปโภคบริโภคและเกษตรกรรมด้วยความห่วงใยในพสกนิกร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหาทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยให้ “ ความโหดร้าย ”ของแม่น้ำป่าสักกลับกลายเป็นความสงบเสงี่ยมที่น่านิยมเมื่อวันที่19กุมภาพันธ์     พ.ศ.2512พระองค์ท่านจึงได้มีพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแห่งแม่น้ำป่าสักเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและบรรเทาอุทกภัยในเขตกลุ่มน้ำป่าสัก


โครงการพระราชดำริ
"เศรษฐกิจแบบพอเพียง"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกลได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ "พอมีพอกิน "และมีความอิสระที่จะอยู๋ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุดพระราชดํารัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทํามาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้

โครงการพระราชดำริ " ฝนหลวง "



"เงยหน้าดูท้องฟ้ามีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้
ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องทำฝนก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ
เคยอ่านหนังสือ ทำได้..."



ความสัมพันธ์ของนวัตกรรมกับเทคโนโลยี
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรมคำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนวัตกรรม เป็นการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยี มุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ

เทคโนโลยี
ควมหมายคือ   ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี"

นวัตกรรม
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย