โครงการพระราชดำริ " ฝนหลวง "
"เงยหน้าดูท้องฟ้ามีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้
ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องทำฝนก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ
เคยอ่านหนังสือ ทำได้..."
โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจาก พระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าว

สลายวิกฤติภัยแล้งได้ด้วยพระบารมี
สืบเนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและยาวนานตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2540 มาจนถึงต้นปี พ.ศ. 2542ซึ่งมีผลมาจากปรากฏการณ์ “เอล นิโน” ได้ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนทรัพยากรน้ำทั่วประเทศ ระดับน้ำในเขื่อนต่าง ๆ ลดลงจนใกล้ถึงจุดต่ำสุดที่ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง พืชผลการเกษตรฤดูแล้งจะได้รับความเสียหาย ไฟป่าจะเกิดกว้างขวาง ประชาชนจะขาดแคลนน้ำประปา จนรัฐบาลต้องออกมาตรการจำกัดพื้นที่เพาะปลูกและรณรงค์ลดการใช้น้ำทั่วประเทศ
ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยพสกนิกรและพระอัจฉริยภาพแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับสั่งให้ตั้งคณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษขึ้นที่สนามบินนครสวรรค์และพิษณุโลก ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2542 และทรงออกแบบภาพประมวลขั้นตอนกรรมวิธีการทำฝนหลวงโดยใช้คอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เอง ซึ่งรวมกรรมวิธีซูเปอร์แซนด์วิชที่ทรงคิดค้นขึ้นใหม่ด้วย และพระราชทานให้คณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2542สืบเนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและยาวนานตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2540 มาจนถึงต้นปี พ.ศ. 2542ซึ่งมีผลมาจากปรากฏการณ์ “เอล นิโน” ได้ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนทรัพยากรน้ำทั่วประเทศ ระดับน้ำในเขื่อนต่าง ๆ ลดลงจนใกล้ถึงจุดต่ำสุดที่ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง พืชผลการเกษตรฤดูแล้งจะได้รับความเสียหาย ไฟป่าจะเกิดกว้างขวาง ประชาชนจะขาดแคลนน้ำประปา จนรัฐบาลต้องออกมาตรการจำกัดพื้นที่เพาะปลูกและรณรงค์ลดการใช้น้ำทั่วประเทศ

จนในที่สุด คณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษสามารถทำให้เกิดฝนตกสม่ำเสมอในพื้นที่เป้าหมายลุ่มเจ้าพระยา และกู้ภัยแล้งปี พ.ศ. 2542 ได้เป็นผลสำเร็จ พืชผลรอดพ้นความเสียหาย วิกฤตการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติ ต่อมาจึงเรียกภาพการ์ตูนฝีพระหัตถ์ดังกล่าวว่า “ตำราฝนหลวงพระราชทาน” และได้ยึดถือปฏิบัติตามแนวพระบรมราโชบายและรูปแบบการปฏิบัติการฝนหลวงในปี พ.ศ. 2542 จนได้รับผลสำเร็จในการป้องกันภัยแล้งในปีต่อ ๆ มาด้วยเช่นเดียวกันณ บัดนี้ โครงการฝนหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริไว้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๘ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลแก่อาณาประชาราษฎร์ ช่วยให้พื้นที่ที่เคยแห้งแล้งกลับมีความชุ่มชื่น ก่อให้เกิดความชุ่มฉ่ำแก่แผ่นดิน แม้แต่น้ำในเขื่อนต่างๆ ที่ใกล้จะหมดก็มีปริมาณมากขึ้น ทั้งนี้ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาญาณ ในพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช อย่างแท้จริง
เขียนโดย ปวีรดา ดิษฐกองทอง วันที่ 19 กุมภาพัน 2553 13.40 น.
Filed under:
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น